fbpx
พรีไบโอติก

โพรไบโอติก (Probiotics) และพรีไบโอติก (Prebiotics) คืออะไร ดีต่อระบบขับถ่ายยังไง?

พรีไบโอติก (Prebiotics) และโพรไบโอติก (Probiotic) สารอาหารยอดฮิตที่มีช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ในลำไส้และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค การทานพรีไบโอติกและโพรไบโอติก ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกเรื้อรังและไม่ชอบกินผัก

หากคุณกำลังสนใจในธุรกิจการผลิตครีม หรือการผลิตอาหารเสริมอยู่ล่ะก็ ทาง Beauty Cosmet ของเรามีโรงงานรับผลิตครีมและอาหารเสริมที่ได้คุณภาพ และผ่านการรับรองอยู่นะคะ หากสนใจสามารถคลิกเช้าไปเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้เลย

โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร?

แคปซูลโพรไบโอติก

โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อยู่ในลำไส้ มักพบในอาหารหมักดอง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ มีคุณสมบัติช่วยกำจัดจุลินทรีย์ไม่ดีในลำไส้ออกไป ทำให้ลำไส้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารให้มีประสิทธิภาพ

โพรไบโอติกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii) เป็นกลุ่มยีสต์ที่ลดอาหารท้องเสีย และลดการติดเชื้อเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) และอาจส่งผลดีต่อการรักษาสิวได้ด้วย

2. บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์มีพบในนม ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด บรรเทาโรคลำไส้แปรปรวน และลดอาการปวดแน่น ท้องอืดท้องเฟ้อได้

3. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่พบในอาหารเปรี้ยว เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยวและอาหารหมักดอง มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ลดภาวการณ์อักเสบของลำไส้ นอกจากนี้ แลคโตบาซิลลัสอาจส่งผลดีต่อปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การติดเชื้อรา ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือเริมริมฝีปาก ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือแผลร้อนใน

แหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติก มักพบใน โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ กระหล่ำปลีดองและขนมปังที่มีรสชาติเปรี้ยวและไวนบางชนิด เป็นต้น

พรีไบโอติก (Prebiotics) คืออะไร?

โยเกิร์ต

พรีไบโอติก (Prebiotics) เป็นไฟเบอร์อีกชนิดที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ โดยช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในลำไส้ มักพบในผักผลไม้ เช่น หัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับไฟเบอร์เหล่านี้ไป จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียที่ชื่อว่าโพรไบโอติก และยังช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ หลายคนมักเห็นอาหารเสริม ไฟเบอร์ชง มักมีส่วนผสมของโพรไบโอติกและพรีไบโอติก นั่นเพราะ หากทานอาหารพวกพรีไบโอติกก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกได้ดีขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์ในตลาดจะอยู่ในรูปของผง และเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของคาร์โบไฮเดรต สารกลุ่มอินูลินและฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ นอกจากจะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายแล้ว สารโพรไบโอติก (Probiotic) ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย

ประโยชน์ของโพรไบโอติก (Probiotic) ที่ดีต่อร่างกาย

ผู้หญิง

ยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติก และไม่ได้แค่ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังดีต่อร่างกายในเรื่องอื่นอีกด้วย

ช่วยลดอาการ Depress ที่เกิดขึ้น

งานศึกษาในปี 2017 พบว่า สารโพรไบติกช่วยลดอาการวิตกกังวลได้ โดยสารโพรไบโอติก จะสัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหารและสมอง ช่วยทำให้อารมณ์ดีลดอาการกังวลได้

ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

โพรไบโอติกสามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างภูมิต้านทานชนิด gA ที่ระบบทางเดินอาหาร ช่วยท้องกันภาวะท้องเสียและติดเชื้อในช่องท้องได้ อีกทั้งยังลดอาการติดเชื้อในส่วนอื่นๆของร่างกายได้ เช่น การติดเชื้อในลำไส้ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดนอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นพบว่า โพรไบโอติก ชนิดแลคโตบาซิล ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดภูมิแพ้และบรรเทาโรคที่เกิดจากทางเดินหายใจ ลดอาการผื่นแพ้ในเด็ก

ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วง ท้องเสีย

อาการท้องร่วงท้องเสีย มักเกิดจากอาการติดเชื้อของแบคทีเรียในลำไส้ จากงานศึกษาต่างประเทศ พบว่าโพรไบโอติกที่เป็นแบคทีเรียชนิดดีในร่างกาย สามารถรักษาโรคท้องเสียฉับพลันได้ ซึ่งระบุว่า หากทานสารอาหารที่มีโพรไบโอติก จะช่วยลดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ได้ 42% และยังสามารถลดความเสี่ยงจากการท้องร่วงระหว่างเดินทางท่องเที่ยวได้ถึง 8% ซึ่งโพรไบโอติกที่ลดอาการท้องเสียได้ จัดอยู่ในแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)

ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง

โพรไบโอติกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยช่วยลดความดันโลหิตและลดคอเรสเตอรอลชนิด LDL ในงานศึกษาของต่างประเทศพบว่า การรับประทานโยเกิร์ตติดต่อกัน 2 – 8 สัปดาห์ จะช่วยลดคอเรสเตอรอลชนิด LDL 5% นอกจากนี้ ในงานศึกษาอื่นๆยังพบว่า การรับประทานสารอาหารโพรไบโอติก ติดต่อกัน 6 เดือน ไม่ได้มีผลต่อ LDL แต่กลับทำให้จำนวน คอเรสเตอรอลชนิด HDL (ไขมันดี) เพิ่มขึ้นแทน อีกทั้ง การรับประทานอาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ยังช่วยลดความดันในเลือดได้

ปัจจุบันสารอาหารอย่างโพรไบโอติกและพรีไบโอติก ถูกพัฒนามาในรูปแบบอาหารเสริมมากขึ้น เช่น แคปซูลแบบเม็ด และไฟเบอร์ชง ซึ่งเรื่องสรรพคุณเกี่ยวการกระตุ้นการขับถ่าย แก้ท้องผูก อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาเกี่ยวกับโพรไบโอติกที่ผ่านมา เป็นเพียงงานศึกษาโพรไบโอติกเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ ยังไม่แนะนำให้รับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกในรูปแบบของยารักษา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดส่วนใหญ่ยังไม่มีการรับรองทางแพทย์อย่างเป็นทางการ หากเลือกรับประทานควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวสรรพคุณและส่วนผสมของแบรนด์นั้นๆ อย่างละเอียด

https://youtu.be/lSDBsa83QrI

หากคุณกำลังสงสัยว่า ถั่งเช่าคืออะไร ถั่งเช่ามีกี่ประเภท และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง อยู่ล่ะก็ ทาง Beauty Cosmet ของเราได้เตรียมบทความที่จะมาตอบคำถามของทุกคนแล้ว คลิกเข้าไปเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้เลย

Share this post

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Scroll to Top